Instagram แอบทดสอบฟีเจอร์ใหม่


Instagram แอบทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ลบ Followers ออก โดยไม่ต้องกด Block โดยที่อีกฝ่ายไม่ถูกแจ้งเติอน !

โดยฟีเจอร์ใหม่นี้ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการให้ใครบางคนมาติดตามเราไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ซึ่งเงื่อนไขฟีเจอร์ใหม่นี้ ใช้ได้เฉพาะกับบัญชี Instagram ที่เปิดแบบสาธารณะ (Public) เท่านั้น !

ข้อสังเกตุ …
ฟีเจอร์ใหม่นี้ ทาง Instagram ยัไม่ได้ประกาศเป็นทางการ เมื่อสอบถามไป ถูก Instagram ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นกับฟีเจอร์นี้ บอกแต่เพียงว่า มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ นำมาทดสอบเป็นระยะ ๆ อยู่แล้ว

YouTube เปิดตัว Copyright Match สำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์


YouTube เปิดตัว Copyright Match สำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ เพื่อช่วยค้นหาว่าวิดีโอของตนถูกขโมยไปอัพโหลดซ้ำหรือไม่ และป้องกันวิดีโอที่ถูกก๊อปปี้ไปอัพโหลดซ้ำ รวมถึงวีดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 😉

หลักการทำงาน …
หลังจากอัพโหลดวิดีโอไป ระบบ YouTube จะสแกนวิดีโออื่น ๆ ที่ถูกอัพโหลดว่าเหมือนหรือคล้ายกับวิดีโอที่มีอยู่หรือไม่ และแจ้งเตือนมายังเจ้าของคอนเทนต์ในแถบ Matches ให้ทราบ

ข้อจำกัดในการใช้งาน …
1. YouTube พิจารณาจากเวลาที่อัพโหลด ถ้าผู้ผลิตคอนเทนต์รายอื่นอัพโหลดเวลาที่ช้ากว่า ถือว่าซ้ำ ! 😳

2. เครื่องมือนี้ตรวจจับได้เฉพาะกับวิดีโอที่ซ้ำกันเท่านั้น ไม่รวมพวกที่ถูกตัดต่อเป็นคลิป 🙄

Copyright Match จะเริ่มเปิดให้ใช้งานสำหรับช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนคน ในสัปดาห์หน้า และขยายให้ผู้ใช้งานทุกคนในอนาคต

การแบ่งประเภท “Social Media Monitoring Tools”


ในปัจจุบันเอเจนซี่ก็ดี แบรนด์เองก็ดี ต่างก็ใช้เครื่องมือ (Monitoring Tools) มาบริหารจัดการ Social Media ต่าง ๆ กันแทบทุกองค์กร แต่อาจแตกต่างกันไป เช่น อาจเป็นรูปแบบ Social Analytics ผสมกับ Social Manegement หรือรูปแบบ Social Listening ผสมกับ Social Influencer หรือรวมเอาทุกอย่างมารวมเป็น Tools เดียวกันก็มี

จึงเกิดคำถาม ว่าการแบ่งประเภทของเครื่องมือบน Social Media หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า … “Social Monitoring Tools”  แบ่งได้กี่รูปแบบ มีอะไรบ้าง ถือว่าเป็นคำถามที่ดี เป็นคำถามที่น่าสนใจ หลาย ๆ คนคงอยากรู้  เลยเขียนสรุปแบบย่อ ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ …

Social Listening –  เครื่องมือที่ทำให้เราสามารถรับฟังสิ่งที่ผู้บริโภคพูดบนโลกออนไลน์ หรือใช้ในการค้นหาหรือเก็บข้อมูลเสียงของผู้บริโภคที่เราให้ความสนใจ วัตถุประสงค์เพื่อรับฟังเรื่องราวและประเด็นต่าง ๆ เรื่องที่เราสนใจ ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงแบรนด์ สินค้า กิจกรรม หรือแม้กระทั่งบุคคล เพื่อทำให้เรารู้ว่า … ใครกำลังพูดอะไร พูดอย่างไร โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการจับจากคีย์เวิร์ดที่ต้องการ  

Social Management – เครื่องมือที่ใช้บริหารจัดการ social media ต่างๆ ของเรา เช่น Facebook , Twitter หรือ Instagram โดยปกติแล้วหากเราต้องรับคำถามหรือความคิดเห็นจากลูกค้า เราต้องเปิดเข้าไปดูทีละช่องทาง แต่ระบบ Social Management สามารถรวบรวมคำถามหรือความคิดเห็นจากหลายๆ ช่องทางมาที่ช่องทางเดียวและยังมีระบบในการตอบคำถามไปยังช่องทางอื่นๆ ได้ทันที

Social Marketing – เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง บริหารจัดการ และวัดผลการทำแคมเปญต่างๆ บน Social Media ในบางครั้งเราต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการบริหารจัดการต่างๆ เช่น ค่าเวลาในบริการจัดการ ค่าเวลาในการจัดทำรายงาน ซึ่งต้นทุนเหล่านี้บ่อยครั้งมีมูลค่ามากกว่าของรางวัลที่จะแจกเสียอีก ระบบ Social Marketing จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาเหล่านี้ลงไปได้มาก

Social Analytics – เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลตัวเลขสถิติบน social media ต่างๆ เช่น จำนวนแฟนเพจ หรือ Engagement บน Facebook จำนวนผู้ติดตาม ซึ่งในเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้จะมีการแสดง Metric หรือค่าชี้วัดต่าง ๆ อาจจะเป็นจำนวนตัวเลขสถิติหรือว่าค่าที่เป็นสูตรต่างๆ เพื่อช่วยให้เราเข้าใจข้อมูลที่เกิดขึ้นบน Social Media ของเราและคู่แข่ง 

Social Influencer – เครื่องมือที่ใช้วัดความมีอิทธิพลของโปรไฟล์ต่าง ๆ ซึ่งในเครื่องมือแต่ละเจ้า ก็จะมีวิธีการคำนวณหรือสูตรที่ใช้คำนวณแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นใน twitter ก็จะใช้ตัวเลข Follower, จำนวนการ Tweet, ระยะเวลาที่ใช้งาน หรือแม้กระทั่งดูแนวโน้มว่าทวีตของโปรไฟล์นั้นๆ มีการถูก Retweet บ่อยกว่า เป็นต้น

ปัจจุบันในท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีเครื่องมือ “Social Media Monitoring Tools”  อาจมีมากถึง 100 ตัว มีทั้งแบบเสียเงินและแบบฟรี หรือแม้แต่ให้ทดลองใช้ ถ้าชอบค่อยซื้อตัวเต็ม แต่จำกัดการใช้งาน ส่วนฟีเจอร์เด่น ๆ อยากได้ต้องซื้อตัวเต็มไป ผมจะขอคัด Tools ที่คิดว่าใช้งานไม่ยาก มีทั้งแบบให้ใช้ฟรี หรือ ราคาไม่แพงจนเกินไป และเหมาะสมกับการใช้งานของคนไทยที่จะเน้น Facebook , Instagram , Twitter และ LINE เป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ …

1. Social Monitoring Tools

2. Social Listening Tools

3. Social Media Tools

4. Social Commerce Management Tools

โดยขออธิบายสั้น ๆ แบบกระชับดังนี้ 

1. Social Monitoring Tools สัญชาติไทยแท้

ZocialEye : ผมขอไม่อธิบายถึงเครื่องมือนี้ ผมเชื่อว่านักการตลาดทั้งมือใหม่ มือเก่า รู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว 

screen-shot-2560-01-26-at-14-53-18

Thoth Media : เป็น Social Monitoring ของบริษัท Thoth Media มีการปรับหน้าตาใหม่ มีการแสดงผลหลายๆ อย่างได้ละเอียดขึ้น เช่น Market Overview , Brand Overview , Sentiment And Share of Voice

screen-shot-2560-01-26-at-14-35-10

OBVOC : เป็นเครื่องมือในการทำ Brand Monitoring ของบริษัท startup สัญชาติไทยที่ชื่อว่า Onebit Matter  ซึ่งล่าสุด !  Thoth Zocial  vs OBVOC  ประกาศควบรวมธุรกิจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ ร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา

screen-shot-2560-01-26-at-14-38-49

SocialEnable : มีความสามารถพิเศษตรงที่เป็นทั้ง Social Monitoring และเป็นเครื่องมือในการตอบลูกค้าได้เลยทันที พร้อมที่จะนำไปปรับใช้กับฝ่ายบริการลูกค้าของบริษัทได้เลย 

screen-shot-2560-01-26-at-14-48-53

Zanroo Social Listening : เป็น Brand Monitoring ที่ใช้ควบคุมจัดการ Crisis Management, Trend Monitoring, CRM, Competitor Analysis นอกจากนี้ยังมี Zanroo Social Engagement ที่ใช้จัดการ Social Media Accounts ของเรา 

screen-shot-2560-01-26-at-14-51-29

 TH3RE  เป็น Listening Tools ที่จะนำเอา Big data technology เข้ามาช่วยให้องค์กรได้เห็น Awareness ของ Brand และเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้นจากผู้คนที่พูดถึงสินค้า หรือบริการ โดยมีรูปแบบของกราฟ และการแสดงผลให้เลือกมากมาย ซึ่งสามารถนำมาสร้างเป็น Warroom หรือ Command Centre ของตัวเองได้ทันที 

screen-shot-2560-01-26-at-14-50-04

2. Social Listening Tools

ViralHeat : เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่หรือเล็ก ทำงานร่วมกันกับ Google Analytic รายงานผลข้อมูลทางประชากรศาสตร์ ผู้มีอิทธิพลต่อแบรนด์ และจำนวนทราฟฟิก รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางอารมณ์หรือความรู้สึกได้เหมือนเครื่องมืออื่นๆ ให้คุณทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลดีและไม่ดีต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์

52907-viralheat1

DataSift : เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของเว็บโซเชียลแบบเรียลไทม์ ซึ่งข้อความสำคัญต่างๆ ที่ผู้บริโภคพูดถึงแบรนด์จะถูกจัดเก็บไว้ในระบบ ช่วยให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์กำหนดทิศทางทางการตลาดได้

screen-shot-2560-01-26-at-14-30-26

Sysomos : เครื่องมือช่วยจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนาบนสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค ช่วยให้ทราบถึงสิ่งที่ผู้บริโภคบนโลกออนไลน์พูดถึงอย่างเจาะลึก เลือกดูได้ตามเพศ ช่วงอายุ ที่คุณสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่านระบบ Interface ที่เรียกว่า Heartbeat

screen-shot-2560-01-26-at-14-08-04

TweetReach : เครื่องมือช่วยวัดประสิทธิภาพของแต่ละข้อความที่ได้ทวีตผ่านทาง Twitter รวมทั้งยังวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ควรจะเจาะกลุ่มเป้าหมายไหน อย่างไร และเมื่อไรภายในระบบ Interface นี้

screen-shot-2560-01-26-at-14-21-28  screen-shot-2560-01-26-at-14-21-38

3. Social Media Tools

Crowdbooster : ถือว่าเป้นเครื่องมือชั้นดีของ Facebook  และ Twitter  ของคุณ เพราะมันจะคอยบอกว่าผู้ติดตามบน Page หรือ Account คนไหนที่ชอบมาไลค์ คอมเมนต์ แชร์ มากที่สุด และตัวระบบเองก็จะคอยเสนอแนะวิธีการทำให้ Page หรือ Account ของคุณดีขึ้นอีกด้วย แต่มันรองรับเฉพาะแค่ Facebook กับ Twitter เท่านั้น

screen-shot-2560-01-26-at-15-31-59

Social.gg : เป็นเครื่องมือฟรีซึ่งถูกสร้างโดยบริษัทสัญชาติไทยที่ชื่อว่า Computerlogy  หลักการทำงานของมันก็คือตัวระบบจะดึงข้อมูล Social ของทั้งประเทศไทยมา แล้วดูว่าเรื่องไหนกำลังเป็นกระแส แล้วก็นำเรื่องเหล่านั้นมาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ ใครที่ทำสายข่าวอยู่ เครื่องมือนี้น่าจะช่วยให้หาข่าวได้ง่ายขึ้นเยอะเลย 

screen-shot-2560-01-26-at-16-20-59

Goo.gl : เป็นของฟรีจาก Google มันเป็น Tools ที่ใช้ง่ายมากๆ ส่วนข้อด้อยก็คือ มันฟีเจอร์มันน้อยเกินไป ทำได้แค่ทำ URL ให้สั้นลง และก็วัดจำนวนคลิ๊กได้นิดหน่อย

screen-shot-2560-01-26-at-16-24-40

Buffer : เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือจัดการ Social Media ที่มีคนรู้จักมากที่สุดในโลก ข้อดีของเจ้าเครื่องมือนี้คือ มันจะโฟกัสอยู่แค่อย่างเดียวก็คือการทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าสามารถ Publish โพสต์บน Facebook, Twitter, Google+, Linkedin, Pinterest และ Instagram ของตัวเองได้ง่าย เร็วและดีที่สุด เพราะฉะนั้นแล้วมันน่าจะถูกเรียกว่า Social Media Publishing Tool ซะมากกว่า ข้อเสียเจ้า Tools นี้คือเรื่องราคา ที่มีราคาสูงไป

screen-shot-2560-01-26-at-16-32-09

Coschedule : มันเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างเฉพาะทาง เหมาะสำหรับ Blogger, Marketer และ Publisher ที่สร้างคอนเทนต์จำนวนมหาศาล ซึ่ง Tools ตัวนี้จะเชื่อมต่อเข้ากับ WordPress, Evernote, Google Docs และ Social Media (Facebook, Twitter, Google+, Linkedin, Tumblr และ Pinterest) และจะทำให้เราสามารถตั้งเวลาในการปล่อย Content และเห็นภาพแผน Content ทั้งหมดของเราได้บน Platfrom เดียว ใครที่ใช้ WordPress ในการทำเว็บไซต์ และมีการผลิต Content จำนวนมาก Tools ตัวนี้น่าจะตอบโจทย์มากๆ เลยข้อเสียคือ ทดลองใช้ได้ฟรี เพียงแค่ 14 วัน 

screen-shot-2560-01-26-at-17-20-53

Hootsuite : เป็น Social Media Management Tool ตัวที่ดัง และ ครบเครื่องที่สุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ Publish คอนเทนต์ลงบน Social Media, การจัดการกับข้อความ และคอมเมนต์, การสร้างแคมเปญ และอื่นๆ อีกมากมาย ข้อดีคือ เริ่มต้นใช้งานมันได้ฟรี ส่วนราคาแบบพรีเมียมนั้นก็เริ่มต้นในราคา $9.99 ซึ่งถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่มันทำได้

screen-shot-2560-01-26-at-17-25-40

IFTTT (If This, Then That) : เป็นเครื่องมือที่ฟรี ! ช่วยเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นดังๆ ต่างๆ กว่า 500 แอพเข้าด้วยกัน และช่วยให้แอพต่างๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง 

คุณสามารถส่งโพสต์ของ Facebook ไปยัง Twitter ได้ ด้วย Hashtag เฉพาะ (อย่างของ ดิจิทัลเตาะแตะ ถ้าโพสต์ไหนบน Facebook เราใส่ Hashtag ว่า #ดิจิทัลเตาะแตะ ตัวโพสต์จะถูกส่งไปยัง Twitter, Google+ และ Linkedin โดยอันโตมัติ

screen-shot-2560-01-26-at-17-32-16

4. Social Commerce Management Tools

Page 365 : เป็นระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ บน Platfrom Facebook, Instagram และ LINE ซึ่งจะช่วยให้คุณคุยกับลูกค้าง่ายขึ้น เปิดบิลง่ายขึ้น รวมไปถึงการปิดการขาย และส่งของไปให้ลูกค้า

Page 365 Express : ที่ช่วยให้การส่งของผ่านไปรษณีย์ไทยง่ายขึ้นอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ไม่มีระบบการบริหารคลังสินค้าซึ่งมันจำเป้นมาก ๆ สำหรับการขายของออนไลน์ รวมทั้งหน้าตาของเว็บไซต์ที่มีปุ่มให้เลือกกดมากเกินไปทำให้ผุ้ใช้มือใหม่ ต้องเสียเวลาในการทำความเข้าใจสักระยะ

screen-shot-2560-01-26-at-17-42-58

Sellsuki : เป็นเครื่องมือที่ทำงานลักษณะเดียวกันกับ  Page 365 เจ้า Tools ตัวนี้สามารถบริหารจัดการคลังสินค้า รวมทั้งพูดคุยกับลูกค้าบน Facebook และ LINE รวมไปถึงช่วยให้การเปิดบิลปิดการขายสะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น จุดเด่นคือ หน้าตาเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย มีระบบบริการจัดการคลังสินค้าที่จะทำให้รู้ว่าคุณมีสินค้าอยู่เท่าไหร่ รวมทั้งมีระบบบันทึกออเดอร์ และแจ้งชำระเงินออนไลน์, ระบบ Tag และระบบแจ้งรหัสพัสดุให้กับลูกค้า ที่สำคัญที่สุดคือ ฟรี ! 

screen-shot-2560-01-26-at-17-49-08

ของแถมครับ เป็น Tools Image Editor

Pablo : จุดเด่นเจ้า Tools ตัวนี้ จะช่วยปรับแต่งขนาดรูปภาพให้เหมาะสมกับ Social Media ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram และ Pinterest แล้ว คุณยังสามารถใส่ Filter, Text หรือ Logo แบรนด์ของคุณลงไปได้อีกด้วย แถมยังสามารถค้นหารูปภาพฟรี ไม่ติดลิขสิทธ์กว่า 6 แสนรูปภาพได้ผ่าน Pablo เลย 

screen-shot-2560-01-26-at-17-35-56

ผุ้อ่านท่านใดสนใจ Tools ตัวไหน ก็สามารถหาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซด์ที่ผมใส่ลิงค์ไปให้ได้นะครับ

ข้อมูล Social Media Monitoring Tools เพิ่มเติม

– Top 15 Free Social Media Monitoring Tools

– 6 Social Media Monitoring Tools to Track Your Brand

– The Top 25 Social Media Monitoring Tools

– 46 Free Social Media Monitoring Tools to Improve Your Results

– 23 Tools for Social Media Monitoring

มารู้จักและเข้าใจ User Generated Content ง่าย ๆ ใน 5 นาที


User Generated Content คืออะไร มีใครเคยได้ยินบ้าง ???

มันคือคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดทิศทาง เราเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ติดตามในเวลาเดียวกัน เช่น เราสนใจเรื่องรถแต่ง เราก็จะติดตามและแชร์ เรื่องรถแต่งบนโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Twitter , YouTube หรือบนเว็บไซต์เราเอง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นว่าใคร ๆ ก็สามารถสร้างเพจเองได้ง่ายมาก เราเห็นเพจดัง ๆ หรือเน็ตไอดอลเต็มไปหมด สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่เขาเคยเป็นผู้ใช้งาน!  จริง ๆ แล้ว เทรนด์นี้มันอยู่กับเรามาตลอดนะ เพียงแต่เราอาจไม่ทันสังเกตุ ยกตัวอย่าง Facebook , Twitter , YouTube นั่นคือสิ่งที่ผู้ใช้งานเป็นคนสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น

UGC จะทำให้เรามีตัวเลือกเยอะมากขึ้น แต่เราไม่มีทางรู้หรอกว่าคอนเทนต์ไหนจะดัง มันเป็นเรื่องของจังหวะ โอกาส เราเห็นเคสที่ดังในคืนเดียวแล้ววันรุ่งขึ้นมันก็หายไป ในแง่ของผู้บริโภค เขาแชร์เพราะว่ามันสนุก แล้วก็จบไป มันจะไม่ได้รับการพูดถึงเหมือนไวรอล หรือดราม่า

สรุป … แพรตฟอร์ม UGC  มันเหมาะกับคนไทยมาก เพราะอะไรเหรอ เพราะคนไทยใช้เวลาอยู่กับโซเชียลเกือบ 24 ชั่วโมง ตื่นนอนมาก็อ่าน โพส์ แชร์ กันแล้ว เวลานี้เราอาจบอกไม่ได้ว่าเทรนด์นี้จะโตในเมืองไทยไหม แต่มันเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตราบใดที่มันยังอยู่บนอินเทอร์เน็ต มันก็คือโอกาส

Facebook Video กับลิงก์จาก YouTube อะไรสร้าง Engagement ได้ดีกว่ากัน ?


Facebook Video กับลิงก์จาก YouTube อะไรสร้าง Engagement ได้ดีกว่ากัน?

1 ในเนื้อหาหรือ Content ที่ดึงดูดคนได้มากรวมทั้งการส่งต่อไปหาคนอื่น ๆ ได้ง่าย นั่นก็คือวิดิโอ เหตุเพราะมันเป็นภาพเคลื่อนไหวสามารถสะกดคนให้อยู่กับสิ่งที่ดูได้เป็นเวลานาน รวมทั้งการเข้ามาของโซเชียลมีเดียยิ่งทำให้การแพร่กระจายของวิดิโอยิ่งมีมากขึ้นไปกว่าเดิมหลายสิบหลายร้อยเท่า ซึ่งอันดับ 1 ของบริการวิดิโอออนไลน์ก็คือ YouTube ส่วนช่องทางที่คนเลือกเผยแพร่ในตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้น Facebook…

สำหรับบน Facebook แล้วการที่จะแชร์วิดิโอสามารถทำได้ 2 แบบก็คือการอัพโหลดขึ้นไปบน Facebook เอง หรือจะใช้การเอาลิงก์ที่ได้จาก YouTube มาโพสเป็นส่วนหนึ่งใน content บน Facebook

คำถามก็คือว่า 2 วิธีนี้ อะไรคือวิธีดีที่สุดในการสร้าง Engagement ให้กับคนที่เป็น Fan บน Facebook ?

ก่อนอื่นมาพูดถึงจำนวนในการโพสวิดิโอแบบสังเกตกันง่าย ๆ เราจะสังเกตเห็นว่า แทบจะทั้งหมดจะจะใช้วิธีการอัพโหลดวิดิโอไปไว้บน YouTube ก่อน แล้วค่อยเอาลิงก์กลับมาแชร์บน Facebook แทบทั้งสิ้ง แต่ด้วยตัวเลขจากทาง SocialBaker นั้นอ้างอิงว่าจำนวนของลิงก์จาก YouTube นั้นมีมากกว่าจำนวนวิดิโอที่อัพโหลดขึ้น Facebook ถึง 8 เท่า ณ เดือนมกราคม 2556 ซึ่งปัจจุบันอัตราส่วนน่าจะมากกว่านั้นมากแล้ว

แต่ด้วยผลการทดสอบดู Interaction ที่เกิดขึ้นโดย SocialBaker ในตอนนั้นกลับพบว่า Engagement Rate ของวิดิโอที่ถูกอัพโหลดขึ้น Facebook มี Engagement ที่สูงกว่าการโพสต์ลิงก์จาก YouTube ถึง 40% (Facebook 0.25%, YouTube 0.151%) โดยแยกผลออกมาได้ตามกราฟด้านล่าง ซึ่งถ้ามองไปแล้วความต่างก็ถือว่าไม่มากนัก

qqq

นอกจากนั้นแล้วยังมีการทดสอบอีกครั้งหนึ่งที่ใช้ระยะเวลาในการทดสอบที่ยาวกว่าถึง 3 เดือน ซึงผลก็ยังคงเป็น Facebook Video ที่มี Engagement Rate สูงกว่าเช่นเดิม ในอัตราที่ใกล้เคียงกับผลด้านบน แต่ที่น่าสังเกตคือการเข้าถึงแบบ Viral Reach ที่ Facebook Video ทำได้มากกว่าถึง 10 เท่า เลยมาช่วยดึงค่า Engagement Rate ให้สูงขึ้นนั่นเอง

q                       qq

แล้วถ้าไม่เอาเรื่องสถิติการทดสอบมาพูดหล่ะ ?

ถ้าให้พูดกันแบบตามเนื้อผ้าไม่เอาการทดสอบมาอ้างอิง สิ่งที่ผมพอนึกได้มีดังนี้ครับ

  • YouTube ติด SEO ครับ ซึ่งได้ทั้งบน Google และบน YouTube เอง ส่วน Facebook Video ไม่มี SEO แต่สามารถค้นหาได้ภายใน Facebook ด้วย Graph Search เท่านั้น
  • การแชร์ ชัดเจนมากคือ YouTube สามารถไปแชร์ตามช่องทางอื่นได้อย่างสบาย ๆ ส่วน Facebook ก็จะอยู่ในแค่ของตัวเองเท่านั้น
  • Facebook Video สามารถ Tag Video ได้ ส่วน YouTube ไม่มี (อาศัยการ mention หาชื่อเพื่อนในตัวข้อความ content แทน)
  • ความละเอียดในการแสดงผลของวิดิโอ Facebook มีแค่ธรรมดาและ HD ส่วน YouTube นั้นมีให้เลือกหลายระดับขึ้นอยู่กับความละเอียดสูงสุดของวิดิโอที่ upload ขึ้นไป
  • การทำโฆษณาได้เปรียบแบบช่องทางใครช่องทางมัน ก็เพราะทั้งคู่มีแพล็ตฟอร์มการโฆษณาเป็นของตัวเอง
  • ตัวเลขจำนวนการชมสำหรับ YouTube แล้วเราสามารถเข้าไปดูได้โดยตรงจากหน้า YouTube เอง ส่วน Facebook Video นั้นผู้ใช้งานทั่วไปจะไม่สามารถเห็นได้ แต่ตัวเลขการชมจะไปอยู่ที่หลังบ้านใน Facebook Insights ซึ่งผู้ที่เป็นผู้ดูแลจะสามารถรู้ตัวเลขได้เพียงอย่างเดียวนั่นก็แสดงว่าเราจะเห็นได้แค่ความนิยมจากการกด Like, การแชร์ และข้อความ comment เท่านั้นสำหรับ Facebook Video ส่วน YouTube เห็นครอบคลุมทั้งหมดทั้งบน YouTube เองและตัวเลขที่เกิดขึ้นบน Facebook ด้วย

ตัวเลข View ที่ไม่แสดงบน Facebook Video สำคัญขนาดไหนกัน?

ผมให้ความสำคัญในแง่ความรู้สึกครับ เพราะทุกครั้งที่เราพูดถึงวิดิโอออนไลน์ สิ่งที่คนจะพูดขึ้นมาเป็นอันดับแรกก็คือตัวเลขการชมหรือเลข View นั้นเอง ซึ่งเมื่อคนทั่วไปสามารถได้ดู (แม้จะไม่เป็นแบบ real-time ก็เถอะ) ก็จะรู้สึก (ไปเอง) ว่าคลิปนี้ได้รับความนิยมขนาดไหน ยิ่งตัวเลขมาก ก็ยิ่งดึงดูดคนให้เข้ามาดูโดยอัตโนมัติ ซึ่งตัวที่มีแสดงให้เห็นก็มีเพียงแค่ YouTube เท่านั้นครับ จุดนี้เองที่จะทำให้มันแพร่หลายได้โดยง่ายกว่า และพัฒนามาเป็น KPI มาตรฐานในการวัดผล

แล้วอะไรดีกว่ากัน?

จากความเห็นส่วนตัว YouTube ก็ยังคงเป็นเครื่องมือสำหรับวิดิโอที่ดีกว่าในการแชร์วิดิโอ แต่ในแง่ของการดึงดูดคนและสร้าง Engagement และการให้คนเข้าถึงวิดิโอแล้ว Facebook Video ก็ยังกินขาด เพราะแน่นอนว่าหลังบ้านของ Facebook ย่อม(น่าจะ)ให้ความสำคัญในการทำให้การเข้าถึงข้อมูลไปยังกลุ่มคนมีสัดส่วนมากกว่าการโพส Link YouTube แบบธรรมดานั่นเอง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของคลิปนั้นจะให้ความสำคัญของช่องทางใดเป็นหลัก หรือต้องการที่จะสร้างทั้งสองช่องทางให้ Engagement เติบโตไปด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งตัวเลือกนี้น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดครับ

แต่ไม่ว่าจะเลือกทางใด ถ้าเนื้อหาใน Video Content มันไม่ใช่ มันไม่โดนจริง ๆ ไม่ว่าช่องทางไหนก็ไม่มีความหมายครับ…